วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

โรคอ้วนลงพุง?

โรคอ้วน
โรคอ้วนลงพุง
โรคอ้วนลงพุงแบ่งสาเหตุได้ 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ กรรมพันธุ์ และปัจจัยภายนอก ซึ่งได้แก่ อาหาร , การออกกำลังกาย , พฤติกรรมสุขภาพและการทานยาบางชนิด

"โรคอ้วน" ต่างจาก "โรคอ้วนลงพุง"  โดยโรคอ้วน สามารถวัดได้จากดัชนีมวลกาย (BMI) หากเกิน25 ถือว่าเป็นโรคอ้วน และโรคอ้วนลงพุง วิธีสังเกตคือ วัดรอบสะดือ ผู้หญิงมากกว่า 80 cm. วัดรอบสะดือ ผู้ชายมากกว่า 90 cm.

อ้วนลงพุงมีอันตรายมากกว่าโรคอ้วน สังเกตจากภาพเอ็กซเรย์จะพบไขมันเกาะบริเวณช่องท้องมากมาย ด้วยเหตุนี้จึงเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน (ไขมันในช่องท้องสลาย --> เกิดพิษ --> อินซูลินทำงานแย่ลง --> เบาหวาน) โรคหลอดเลือดและสมอง เหนื่อยง่าย โรคหัวใจ ความดัน ไขมันเกาะตับ-->ตับอักเสบ ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดเอว นอนกรนและยังเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
ในขณะที่การแพทย์และสาธารณสุขเจริญก้าวหน้า และมีเทคโนโลยีต่างๆที่ช่วยอำนวยความสะดวกมากมาย ทำให้คนใส่ใจสุขภาพน้อยลง ประมาทในการดำเนินชีวิต ไม่ใส่ใจและตระหนักในเรื่องสุขภาพ มุ่งแต่หาเงินเพื่อสร้างความสะดวกสบายให้ชีวิต โดยลืมไปว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่คำตอบของการมีชีวิตและการมีสุขภาพที่ดี ซึ่งหนึ่งในปัญหาที่พบได้ตอนนี้ก็คือ โรคอ้วนลงพุง หากวิเคราะห์จากปัจจัยที่ ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์ กล่าวจะพบว่า กรรมพันธุ์และการรับประทานยาบางชนิด เป็นเพียงสาเหตุส่วนน้อยของโรคอ้วนลงพุง สำหรับปัจจัยที่มีผลมากที่สุดน่าจะมาจากพฤติกรรมสุขภาพ การรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย ที่ควรปลูกฝังให้มีในคนไทยทุกคน เพื่อที่เราจะได้ห่างไกลจากโรคอ้วนลงพุง

ข้อเสนอแนะ
1.ตั้งเป้าหมายให้ตัวเองและพยายามปฏิบัติทุกวันด้วยความสม่ำเสมอ
2.รู้ว่าต้องทำอย่างไร มีการวางแผน
 - ออกกำลังกาย ควรเลือกที่เหมาะสม สำหรับผู้มีน้ำหนักตัวมากควรเลือก เวท เทรนนิ่ง หรือออกกำลังกายในน้ำ เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดกับข้อต่อ
 - อาหาร ควรลดแป้ง น้ำตาล ของมัน ของทอด เพิ่มโปรตีน และเน้นผักให้ได้ครึ่งหนึ่งของแต่ละมื้อ
 - งดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น นั่งๆนอนๆ หรือใช้ลิฟท์แม้จะขึ้นลงเพียง1หรือ2ชั้น เป็นต้น